วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

vedeo น่าสน

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ภูพระบาท




View Larger Map
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท (อำเภอบ้านผือ), อุดรธานี

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ 3,430 ไร่ ในเขตบ้านติ้วตำบลเมืองพาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดระยะทางประมาณ 67 กม. ตามเส้นทางหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) บริเวณหลักกม.ที่ 13 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทางประมาณ 42 กม.แยกขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามเส้นทางหมายเลข 2348 อีกประมาณ 12 กม. มีแยกขวาเป็นทางเข้าไปประมาณ 2 กม. ภายในบริเวณอุทยานฯ ทางด้านขวามือเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการนักท่องเที่ยว สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดและข้อมูลของอุทยานฯรวมทั้งแผนที่และเส้นทางเพื่อความสะดวกในการเที่ยวชม อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเปิดบริการเวลา 08.00-16.30 น.ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทนี้เป็นที่ตั้งของสถานที่ซึ่งแสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์ และการ เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติ ทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่างๆ กัน ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับ ชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ

พระพุทธบาทบัวบก
ตั้งอยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477 ในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ คำว่า "บัวบก" เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดตามป่า มีหัวและใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาทจึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า "พระพุทธบาทบัวบก" หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บกซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตรกว้าง 90 เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม ทุกๆ ปีในช่วงเดือน 3 ขึ้น 13-15 ค่ำ จะมีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก

พระพุทธบาทหลังเต่า
ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบัวบก มีลักษณะเป็นรอยพระบาทสลักลึกลงไปในพื้นหินลึกประมาณ 25 เซนติเมตร ใจกลางพระบาทสลักเป็นรูปดอกบัว กลีบแหลมนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งงนี้อยู่ใกล้กับเพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า จึงได้ชื่อว่า "พระพุทธบาทหลังเต่า"

ถ้ำและเพิงหินต่าง ๆ
ตั้งกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณอุทยานฯ แห่งนี้ นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ในระยะทางไม่ไกลนัก ได้แก่ ถ้ำลายมือ ถ้ำโนนสาวเอ้ ถ้ำคน ถ้ำวัวแดง (ซึ่งถ้ำเหล่านี้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นที่พำนักของมนุษย์สมัยหิน และมนุษย์เหล่านั้นได้เขียนรูปต่างๆ ไว้ เช่น รูปคน รูปมือ รูปสัตว์ และรูปรายเลขาคณิต) นอกจากนั้นยังมีลานหินที่สวยงาม คือ ลานหินโนนสาวเอ้ ธรรมชาติได้สร้างเพิงหินต่างๆ ไว้ ทำให้มนุษย์รุ่นหลังๆ ได้จินตนาการผูกเป็นเรื่องตำนานพื้นบ้าน คือ เรื่อง "นางอุสา-ท้าวบารส" เพิงหินที่สวยงามเหล่านี้ ได้แก่ คอกม้าท้าวบารส หอนางอุสา บ่อน้ำนางอุสา นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนหลักเสมาและหินทรายจำหลัก พระพุทธรูปศิลปะสมัยทวาราวดี ที่เพิงหิน วัดพ่อตาและเพิงหินวัดลูกเขย

พระพุทธบาทบัวบาน
ตั้งอยู่บนเนินเขาในเขตตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองอันเก่าแก่และมีการขุดค้นพบใบเสมาที่ทำด้วยหินเป็นจำนวนมาก ใบเสมาเหล่านี้สลักเป็นรูปบุคคลศิลปะทวาราวดี



ที่มา
http://maps.google.co.th/maps?source=ig&hl=en&rlz=1W1ADSA_en&q=%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%9D%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%A1&cr=countryTH&um=1&ie=UTF-8&sa=N&tab=wl
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=riopai&date=18-10-2007&group=4&gblog=12

ภูฝอยลม



View Larger Map



ตำนานภูฝอยลม

“ภูฝอยลม” เป็นพื้นที่ภูเขาที่มีสภาพอุดมสมบรูณ์อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติพันดอน-ปะโค อำเภอหนองแสงจังหวัดอุดรธานี สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตร ตั้งชื่อตามชื่อของไลเคนชนิดหนึ่ง ชื่อว่า “ฝอยลม”ซึ่งเกาะอาศัยอยู่ตามกิ่งของต้นไม้ใหญ่กระจายอยู่เต็มพื้นที่ ต่อมาได้มีการให้สัมปทานทำไม้และมีราษฎรเข้ามาจับจองและบุกรุกพื้นที่เพื่อจัดตั้งหมูบ้าน จึงทำให้สภาพป่าเริ่มเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ จนทำให้ ”ฝอยลม”เริ่มน้อยลง จนแทบจะหาไม่ได้ในพื้นที่

ในระหว่างปี 2538-3532 ส่วนราชการต่างๆนำโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ในขณะนั้น (นายสายสิทธิ พรแก้ว) ได้ร่วมกันเคลื่อนย้ายราษฎร เหล่านั้นอกจากพื้นที่ป่า โดยจัดให้อยู่พื้นที่ใหม่ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบกับการทำลายนิเวศ

ปี 2533 สำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดอุดรธานี ได้จัดอบรมเยาวชน เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ชื่อว่า “โครงการเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้” เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงทัศนะคติให้คนรุ่นใหม่ได้หันมาสนใจ และเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ต่อมาในปี 2535 ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรและกิจกรรมอบรมให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ละเปลี่ยนชื่อโครงการใหม่เป็น “โครงการเยาวชนพิทักษ์ไพร” โดยใช้ชื่อย่อว่า “ย.พ.พ.”

ปี 2535 กรมป่าไม้ได้อนุมัติงบประมาณ จัดทำโครงการสวนรวมพรรณป่าไม้ 60 พรรษา มหาราชินี เพื่อเทิดพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมพันธ์ไม้ป่า ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนเป้นสถานที่สำหรบหารศึกษาและพักผ่อนหย่อนใจของจังหวัดอุดรธานี

ปี 2541 กรมป่าไม้ได้อนุมัติงบประมาณ จัดทำโครงการ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าพันดอน-ปะโค ตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการสร้างแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นโดยพัฒนาป่าสงวนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

ปี 2545 ในสมัยรัฐบาลของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยว โดยการนำเสนอและการสนับสนุนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี เขต 4 ( นายธีระยุทธ วานิชชัง ) จึงได้รับอนุมัติเงินก่อสร้างบ้านพักห้องน้ำ ศาลาห้องประชุม ศาลาพักผ่อนแหล่งน้ำ และปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่ ให้บริการ และเปลี่ยนชื่อโครงการใหม่เพื่อความสะดวกในการจดจำ และเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เป็น “ โครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ภูฝอยลม “ ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “ Phu Foilom Ecotourism Project” และในปีเดียวกันนี้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี (นายชัยพร รัตนนาคะ) ได้มีแผนการที่จะพัฒนาพื้นที่ ภูฝอยลม ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของภูมิภาค จึงได้หางบประมาณสร้างแหล่งน้ำเพิ่มเติม สร้างถนนลาดยาง และจัดทำโครงการอุทยานก่อนประวัติศาสตร์ และเส้นทางไดโนเสาร์ โดยมรการสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ ปั้นไดโนเสาร์ชนิดต่างๆ ขนาดเท่าของจริง ปั้นจระเข้และเต่าโบราณ จัดทำหุ่นจำลองและวิวัฒนาการ ของลิงจนกลายเป็นมนุษย์ จัดทำนาฬิกาแดด โดยมีเส้นทางเดินเท้าและการปรับปรุงภูมิทัศน์ในบริเวณโดยรอบ

ทั้งนี้ ในการจัดสร้างอุทยานก่อนประวัติศาสตร์ดังกล่าว ในเวลาดำเนินการเพียง 96 วัน (ตั้งแต่ วันที่ 1ตุลาคม 2545 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2546)


ที่มา

http://maps.google.co.th/maps?source=ig&hl=en&rlz=1W1ADSA_en&q=%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%9D%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%A1&cr=countryTH&um=1&ie=UTF-8&sa=N&tab=wl

View Larger Map

รูป

ที่มา

http://www.samarts.com/samartconnect/img_promotion/gigabit_internet_diagram.jpg

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ควรรู้

เรื่องน่ารู้
กฎหมายอินเตอร์เน็ต ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน วันอังคารที่ผ่านมาสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติอนุมัติในหลักการ กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นกฎหมายเสนอโดยฝ่ายรัฐบาล สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้มีหลายประเด็น อาทิ ผู้กระทำการต่างๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาด ถือว่ามีความผิดและมีบทลงโทษชัดเจน หมายความว่าถ้าผ่านสามวาระแล้ว ต่อไปใครปล่อยไวรัสคอมพิวเตอร์ลงในระบบอินเตอร์เน็ท จะมีกฎหมายชัดเจนที่จะเล่นงานลงโทษ ซึ่งก็เป็นเรื่องดีแต่ไม่รู้กฎหมายนี้จะไปเล่นงานพวกที่ทำอยู่ในต่างประเทศได้แค่ไหน และบทบัญญัติในเรื่องนี้คงจะครอบคลุมถึงผู้มีเจตนาทำให้เว็บเพจน์ของคนอื่นมีปัญหาด้วย เว็บไซต์ไหนวิพากษ์วิจารณ์ดีนัก ก็อาจจะมีมือดีเขียนโปรแกรมเข้าไปทำให้ระบบการทำงานเว็บไซต์นั้นรวน ต่อไปจะมีกฎหมายมาเล่นงานพวกนี้ การใช้วิธีการใดๆเข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลของบุคคลอื่นอันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามก อนาจาร ก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐรวมถึงความสงบสุขและศีลธรรมของประชาชนอย่างนี้ก็ผิดตามกฎหมายใหม่ด้วย (ข้อมูลจากผู้จัดการออนไลน์)อ่านเผินๆ แนวคิดที่จะออกกฎหมายดีมากแต่ก็ไม่ทั้งหมด ส่วนที่เห็นด้วยก็ คือ "การใช้วิธีการใดๆเข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลของบุคคลอื่นอันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามก อนาจาร" พฤติกรรมเหล่านี้สมควรที่จะมีกฎหมายควบคุมและลงโทษ เพราะเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น ทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น และเรื่องลามก อนาจารนั้นก็ทำลายศีลธรรมอันดีในสังคม ส่วนประเด็นเผยแพร่ข้อมูลแล้วก่อให้เกิดความเสียหายกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ นี่สิ ท่านกำลังออกกฎหมายกว้างไปหรือเปล่า ถ้าจะเอาตามนี้แล้วสิทธิ และเสรีภาพในการแสดงความคิดของประชาชนจะให้ทำได้เฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์เท่านั้นหรือ เป็นเรื่องที่ล่อแหลมต่อการกระทำความผิดมาก เพราะสื่อทุกวันนี้ส่วนใหญ่ทำแบบมัลติมีเดีย คือ งานชิ้นเดียวกันอาจปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ โทรทัศน์ รวมถึงอินเตอร์เน็ทด้วย ที่สำคัญมีบรรทัดฐานหรือมีอะไรมาวัดว่า การเผยแพร่ข้อมูลอย่างไรกระทบหรือไม่กระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ โดยเฉพาะการแสดงความคิดเห็นทางเศรษฐกิจนั้นมักจะชี้ทิศทางตามฐานข้อมูล และระดับความเข้าใจของคนที่วิพากษ์วิจารณ์ อย่างทุกวันนี้ข้อมูลบางอย่างบ่งบอกว่า การลงทุนของต่างประเทศโดยตรงแต่ผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เม็ดเงินที่จะเข้ามาจะไม่ได้มากอย่างที่คิด การจ้างงานจะไม่เป็นไปตามคาด การก่อสร้าง การซื้อขายหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์จะลดน้อยลง เพราะคนเข้ามาลงทุนน้อย บางคนอาจจะให้เหตุผลโดยคิดเอาเอง หรือทำการสำรวจความเห็นมา แล้วระบุว่า เขาไม่มาลงทุนเพราะไม่มั่นใจเสถียรภาพของรัฐบาล รัฐบาลไม่ได้มากจากการเลือกตั้ง แต่มาจากการใช้กำลังยึดอำนาจวิจารณ์และเผยแพร่อย่างนี้ผ่านอินเตอร์เน็ท ใครจะมาตัดสินว่าคนวิจารณ์และเผยแพร่จะติดคุกหรือไม่ ผมว่ากฎหมายที่จะออกมานี้จะต้องพิจารณาให้ดี ในเรื่องกระทบสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เพราะนี่เป็นพื้นฐานของวิถีประชาธิปไตย ความสำคัญของกฎหมายน่าจะอยู่ที่ สามารถนำกฎหมายที่ออกมาใหม่ไปรองรับการกระทำความผิดเกี่ยวกับสิทธิ์ของบุคคลอื่น มากกว่าที่จะมุ่งไปที่จำกัดเสรีภาพของบุคคลกฎหมายควรจะออกมาในลักษณะ ใครเข้าข่ายหมิ่นประมาทตามกฎหมายที่มีอยู่ ไปเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ท ก็ต้องมีโทษเหมือนหมิ่นประมาทตามกฎหมายอาญาที่มีอยู่ (ความจริงต้องเลิกกฎหมายหมายหมิ่นประมาทตามกฎหมายอาญาได้แล้ว) หรือผิดฐานละเมิดตามกฎหมายแพ่งที่มีอยู่ ก็ต้องผิดเหมือนกัน เพราะความจริงแล้วเราต้องการจะให้มีกฎหมายชัดๆ เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของบุคคลโดยทั่วไปเป็นสาระสำคัญมิใช่หรือ การกระทำความผิดด้านความมั่นคง ก็ต้องถือว่าผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงด้วย ถ้ามีพฤติกรรมเข้าข่ายเป็นภัยความมั่นคง และพฤติกรรมนั้นเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ท ก็ต้องมีความผิดเช่นกัน เพราะอินเตอร์เน็ทก็คือสื่อชนิดหนึ่ง


ที่มา
http://www.sci.nu.ac.th/information-it/index.php?topic=3515.0

รู้ทัน

รู้ทันการหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ต


ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา คำว่าอินเตอร์เน็ต ได้กลายเป็นคำที่แทบไม่มีใครไม่รู้จัก เหตุเพราะอินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนจำนวนมากในโลกนี้ไปแล้ว การใช้อินเตอร์เน็ตในปัจจุบันได้ขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น โดยได้ก้าวล่วงเข้าไปในทุกสาขาอาชีพ ด้วยคุณสมบัติการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ ทำให้อินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาขององค์กรทั้งหลาย ได้มีความพยายามนำอินเตอร์เน็ตมาใช้เพื่อประโยชน์สำหรับหน่วยงานของตนในรูปแบบต่างๆ จากการศึกษาเรื่องข้อมูล สถิติเรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตเมื่อกลางปี พ.ศ.2544 มีการประมาณการว่าจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกสูงถึง 513 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 8.46 ของประชากรทั่วโลก สำหรับข้อมูลจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย ระหว่างเดือนมกราคม ถึงมีนาคม 2544 สำรวจโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ พบว่ามีจำนวน 3.5 ล้านคน ซึ่งในขณะที่สถิติการใช้อินเตอร์เน็ตมีการเพิ่มตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็นำไปสู่ปัญหาของการนำอินเตอร์เน็ตไปใช้ในแง่ลบมากขึ้นเช่นกัน โดยการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการหลอกลวง อย่างไรก็ดี การที่ประชาชนทั่วไปได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวกับรูปแบบการหลอกลวงก็เป็นการดีที่อาจทำให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อการถูกหลอกน้อยลงได้ รูปแบบของการหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ต จากการสำรวจของ National Fraud Information Center 5 อันดับที่น่าสนใจมีดังนี้ 1.การประมูลสินค้าทางอินเตอร์เน็ตโดยหลอกลวง (Internet Auction Fraud) การประมูลสินค้าทางอินเตอร์เน็ต เป็นวิธีการซื้อขายสินค้าที่ได้รับความนิยมและเป็นช่องทางการติดต่อซื้อขายสินค้าที่สะดวกรวดเร็ว ส่วนการหลอกลวงจะมีหลายรูปแบบ เช่น ผู้ขายไม่ส่งมอบสินค้าที่ผู้ซื้อประมูลได้ เพราะไม่มีสินค้าอยู่จริง การหลอกลวงโดยปั่นราคาซื้อขาย ผู้ขายหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ขายจะเข้าเสนอราคาเพื่อประมูลสินค้าของตน เพื่อให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น ทำให้ผู้ซื้อต้องซื้อสินค้าในราคาที่สูงเกินจริง เป็นต้น สำหรับวิธีการป้องกันผู้ซื้อควรตรวจสอบว่าเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการด้านการประมูลทางอินเตอร์เน็ต (คนกลาง) มีวิธีการระบุตัวบุคคลที่เป็นผู้ขาย (หรือผู้ซื้อ) ดีพอหรือไม่ กล่าวคือ มีการเก็บประวัติรายละเอียดของผู้ขายที่สามารถติดต่อได้ หรือพิจารณาว่าผู้ให้บริการด้านการประมูลทางอินเตอร์เน็ต (คนกลาง) มีนโยบายการประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสินค้าที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง 2.การซื้อขายสินค้าทั่วไป (General Merchandise) เป็นการซื้อขายสินค้าที่ไม่ได้ผ่านการประมูล แต่สินค้าที่เสนอขายนั้น เมื่อมีการซื้อขายกันแล้วไม่มีการส่งสินค้าจริงหรือรายละเอียดที่ให้ไว้นั้นไม่ถูกต้อง วิธีการป้องกันในส่วนของการหลอกลวงรูปแบบนี้ มีหลักการง่าย ๆ อยู่ 4 ประการ คือ 1 การรู้จักบริษัทที่เราจะทำการติดต่อซื้อขายด้วยอยู่ เพื่อให้แน่ใจควรติดต่อกับบริษัทที่อยู่ในประเทศหรือบริษัทที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่รู้จัก มากกว่าที่จะเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่บนโลกอินเตอร์เน็ตและไม่คุ้นเคย 2 การเข้าใจข้อเสนอ นั่นคือ การตรวจสอบข้อเสนอที่มีการแจ้งไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วน และควรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่แน่ใจ และควรมีการตรวจสอบราคา วันที่จัดส่ง เงื่อนไขในการคืนการยกเลิกสัญญา และการรับรองสินค้า และควร print ข้อมูลเหล่านั้นเก็บไว้ด้วย 3 การตรวจสอบประวัติของบริษัทที่เราทำการติดต่อ โดยสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท 4 ไม่ควรรีบตัดสินใจ ควรระมัดระวัง ใช้เวลาในการตัดสินใจให้ดี ความรีบเร่งอันเกิดจากการกดดันของผู้ขายนั้น อาจทำให้ตัดสินใจพลาดได้ง่าย 3.การหลอกลวงโดยเสนอให้เงิน จากประเทศไนจีเรีย (Nigerian Money Offers) การหลอกลวงแบบนี้ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจะได้รับข้อความจากจดหมายหรืออีเมล์ จากบุคคลที่กล่าวอ้างว่ามีความสำคัญในประเทศไนจีเรีย เพื่อขอช่วยเหลือในการโอนเงินจำนวนมากไปยังต่างประเทศ โดยผู้บริโภคจะได้รับเงินส่วนแบ่ง จำนวนนับล้านเหรียญ ดอลลาร์สหรัฐ ฯ การป้องกันผู้บริโภคไม่ควรหลงเชื่อบุคคลอื่นที่อ้างตัวและเสนอจะให้ผลประโยชน์จำนวนมหาศาลโดยไม่มีความเสี่ยงเช่นนี้ และไม่ควรเปิดเผยข้อมูลบัญชีธนาคารของตนแก่ผู้อื่นด้วย

  • หลังจากที่ เราได้ทราบรูปแบบการหลอกลวงไป 3 รูปแบบในตอนที่แล้ว คราวนี้เรามาดูรูปแบบที่เหลือกันเลยดีกว่าค่ะ 4.Phishing Phishing คือ วิธีการหลอกลวงในรูปแบบของการปลอมแปลงอี-เมล์ และทำการสร้างเว็บไซต์ปลอม เพื่อทำการหลอกลวงให้เหยื่อหรือผู้รับอี-เมล์เปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงินหรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ เช่น ข้อมูลของหมายเลขบัตรเครดิต บัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือข้อมูลอื่น ๆ วิธีการป้องกันและรับมือกับการถูกโจมตีแบบ phishing 1.หยุดคิดและพิจารณาข้อมูลที่ได้รับทางอี-เมล์ หรือข้อมูลที่เข้าไปดูในเว็บไซต์ทุกครั้ง 2.ควรลบข้อมูลที่น่าสงสัยทิ้งทันที 3.หากมีความจำเป็นต้องกรอกหรือส่งข้อมูลใดทางเว็บไซต์ ต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือของเว็บดังกล่าวว่ามีตัวตนหรือการรับรองหรือไม่ หากไม่แน่ใจควรติดต่อไปยังเจ้าของเว็บไซต์หรือเจ้าของสถาบันการเงินดังกล่าว เพื่อสอบถามข้อมูลและยืนยันข้อมูลก่อนดำเนินการใด ๆ 4.ไม่ควรเข้าไปในเว็บไซต์หรือรันไฟล์ที่แนบมากับอี-เมล์ ซึ่งมาจากบุคคลที่ไม่รู้จัก หรือไม่มั่นใจว่าผู้ส่งเป็นใคร หรือไม่ทราบว่าไฟล์ดังกล่าวเป็นไฟล์อะไร 5.ติดตั้งโปรแกรมปรับปรุงช่องโหว่ ของทุกซอฟแวร์ที่มีการใช้อยู่ในเครื่องของท่านอยู่เสมอ 6.ติดตามข่าวสารและการแจ้งเตือนทางด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยคอมพิวเตอร์ 5.Information/Adult service เป็นกรณีของการให้บริการที่ผู้ให้บริการนั้นไม่มีการแจ้งราคาหรือรายละเอียดไว้ หรือแจ้งไว้แต่ไม่ถูกต้อง ซึ่งวิธีการป้องกันก็ให้วิธีการแบบเดียวกันกับการป้องกันการถูกหลอกลวงจากการซื้อขายสินค้าทั่วไปคือ การรู้จักบริษัทที่เราจะทำการติดต่ออยู่ การเข้าใจข้อเสนอแนะ การตรวจสอบประวัติของบริษัทที่เราทำการติดต่อ และ ไม่ควรรีบตัดสินใจ นั่นเอง นอกจากรูปแบบที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีการหลอกลวงแบบอื่นๆที่กำลังเป็นที่แพร่หลาย ได้แก่ 1. การหลอกลวงให้ประกอบธุรกิจที่บ้าน (Work-at-Home) 2. การให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยหลอกลวง (Internet Service Provider Scams) 3. การใช้บัตรเครดิตโดยไม่ได้รับอนุญาต (Credit Card Fraud) 4. การเข้าควบคุมการใช้โมเดมของบุคคลอื่น (International Modem Dialing/ Modem Hijacking 5. การหลอกลวงให้ใช้บริการเกี่ยวกับเว็บไซต์ (Web Cramming 6. การหลอกลวงโดยใช้การตลาดหรือการขายแบบตรง (Multilevel Marketing Plans/ Pyramids 7. การหลอกลวงให้จดทะเบียนโดเมนเนม (domain name registration scams) 8. การหลอกลวงโฆษณาหรือขายยามหัศจรรย์ (miracle products) อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นการหลอกลวงในรูปแบบใด สิ่งที่สามารถป้องกันตัวเองที่ดีที่สุดของผู้บริโภคก็คือ การใช้วิจารณญาณของผู้บริโภคเองในการพิจารณาไตร่ตรองข้อมูลที่ได้รับมาอย่างรอบคอบเสมอ การไตร่ตรองข้อมูลนี้เองที่จะเป็นเสมือนเกราะป้องกันผู้บริโภคไมให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพได้ง่าย ขณะเดียวกันการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับพฤติกรรมการกระทำผิดที่เกิดขึ้นก็จะเป็นเสมือนสิ่งที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งของเกราะได้อีกชั้นหนึ่ง
ที่มา :
http://www.dsi.go.th/ http://www.payap.ac.th/
www.deedeejang.com/article/forward/00570.html

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต

โทษของอินเทอร์เน็ต

ทุกสรรพสิ่งในโลกย่อมมีทั้งด้านที่เป็นคุณประโยชน์และด้านที่เป็นโทษ เปรียบเหมือนเหรียญที่มี 2 ด้านเสมอ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้อย่างไรให้เกิดผลดีต่อเรา ขอยกตัวอย่างโทษที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการใช้งานอินเทอร์เน็ตดังนี้
โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic)
อินเทอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ?
หากการเล่นอินเทอร์เน็ตทำให้คุณเสียงานหรือแม้แต่ทำลายสุขภาพ นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน โดยเปรียบเทียบกับบรรทัดฐานซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับการติดอินเทอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่างเกี่ยวข้องกับการล้มเหลวในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด)
คำว่า อินเทอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเทอร์เน็ตเอง ระบบออนไลน์ (อย่างเช่นบริการ AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเทอร์เน็ต
รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต
มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเทอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวเอง
การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ ์ ยังใช้อินเทอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต
ใช้เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้
สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน 3 ข้อในช่วงเวลา 1 ปี ถือว่ายังเป็นปกติ จากการศึกษาวิจัยผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คน เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า "ติดอินเทอร์เน็ต" ในขณะที่อีก 100 คนยังนับเป็นปกติ ประกอบด้วยเพศชาย และเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ
สำหรับผู้ที่จัดว่า "ติดอินเทอร์เน็ต" นั้นได้แสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเทอร์เน็ต อย่างหนักเหมือนกับการเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหารหรือสุราเรื้อรัง มีผลกระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ
เรื่องอนาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)
เรื่องของข้อมูลต่างๆ ที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆ นั้นเป็นเรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอร์เน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนามากนัก ทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภาพเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอร์เน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สื่อเหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้
ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต และระเบิดเวลา
ไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ
ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆ กัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และสิ่งที่มันทำนั้นไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย เช่น การแอบส่งรหัสผ่านต่างๆ ภายในเครื่องของเราไปให้ผู้เขียนโปรแกรม
หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง
ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆ มาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องหลอกหลวงต่างๆ อีกมากมายที่กลายเป็นข่าวให้เราได้รับทราบอยู่เสมอ การพยายามในการเจาะทำลายระบบเพื่อล้วงความลับหรือข้อมูลต่างๆ ดังนั้น การใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงต้องมีความระมัดระวังในการใช้งาน มีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร กลั่นกรองจากหลายๆ แหล่งเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อจากเหล่ามิจฉาชีพไฮเทคเหล่านี้



แหล่งที่มาของข้อมูล

1. http://www.sci.nu.ac.th/information-it/index.php?topic=5297.0


วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

internet

อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น

อินเตอร์เน็ต (Internet) คือ
เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Networkอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ลักษณะของระบบอินเตอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace

การทำงานของอินเทอร์เน็ต
การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย
โดเมนเนม (Domain name system :DNS)
เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข
โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
.com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
.edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
.int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
การขอจดทะเบียนโดเมน
การขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิม เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เราจะเข้าไปจดทะเบียน
การขอจดทะเบียนโดเมน มี 2 วิธี ด้วยกัน คือ
1. การขอจดะเบียนให้เป็นโดเมนสากล (.com .edu .int .org .net ) ต้องขอจดทะเบียนกับ www.networksolution.com ซึ่งเดิม คือ www.internic.net
2. การขอทดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (Thailand)ต้องจดทะเบียนกับ www.thnic.net
โดเมนเนมที่ลงท้าย ด้วย .th ประกอบด้วย
ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย
.co.th ย่อมาจาก Company Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย
.go.th ย่อมาจาก Government Thailand สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล
.net.th ย่อมาจาก Network Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย
.or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สำหรับของบุคคลทั่วๆ ไป
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)
1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน (Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเทอร์เน็ตได้

ความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
ด้านการศึกษา
1. สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชา หรืออ่านหนังสือออนไลน์2. ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดออนไลน์3. นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเตอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น 4. สามารถทำการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้
ด้านการพาณิชย์
1. ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ 2. สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 3. ทำการตลาดการโฆษณาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 4. ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
ด้านการบันเทิง
1. การพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อ่านหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ 2. การเล่นเกมออนไลน์3. สามารถฟังวิทยุหรือดูการถ่ายทอดสดผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ 4. สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้ นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ในระบบอินเตอร์เน็ตยังมีบริการอื่นๆ อีกมากมาย พอจะสรุปได้ว่า อินเตอร์เน็ต มีความสำคัญ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย การติดต่อสื่อสารที่สะดวก และรวดเร็ว แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร

ที่มาของข้อมูล

1.http://www.nrru.ac.th/learning/science/sc_006/01/page2.htm

2.http://www.nrru.ac.th/learning/science/sc_006/01/Page12.htm











วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

jintara