วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

วันครู




วันครู ประวัติวันครู ความเป็นมาวันครู ความหมายวันครู การจัดงานวันครู คำปฏิญาณตนของครู

ความหมาย
ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้

การจัดงานวันครู
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ

การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. กิจกรรมทางศาสนา
2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น

ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้
รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน ๑,๐๐๐ รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์


มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู
1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้
4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน
8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา
10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน


คำปฏิญาณตนของครู
ข้อ 1. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ 2. ข้อจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็น


อบจ.อุบลฯ จัดงานวันครู ประจำปี 2553 “น้อมวันทา บูชาครู กตัญญูกตเวที”

วันที่ 16 มกราคม 2553 ซึ่งเป็นวันครูของคนไทย ประจำปีนี้ เวลา 09.00 น. กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม อบจ.อุบลฯ ได้จัดงานวันครูขึ้น ณ ศูนย์โอท็อปเซ็นเตอร์ อบจ.อุบลฯเพื่อน้อมระลึกถึงพระคุณครูและเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที ต่อครูและเห็นความสำคัญของบุคคลที่ให้ทุกสิ่งทุกอย่างกับศิษย์ทุกคน เป็นที่ประจักษ์ให้เห็นวิธีชีวิตที่งอกงาม เจริญก้าวหน้าในทุกวิชาชีพอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดย มีนายพรชัย โควสุรัตน์ นายกอบจ.อุบลฯ เป็นประธานเปิดงาน ทั้งนี้มีผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากร เข้ารวมกิจกรรมกล่าว 500 คน ซึ่ง อบจ.อุบลฯ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ส่วนในปีนี้มีโรงเรียนในสังกัด อบจ.อุบลฯ ทั้ง 12 โรงเรียน คือโรงเรียนพิบูลมังสาหาร โรงเรียนไร่ใต้ประชาคม โรงเรียนหนองบัวฮีวิทยา โรงเรียนแก้งเหนือวิทยา โรงเรียนนาคำวิทยา โรงเรียนเหล่างามวิทยา โรงเรียนนาสะไมวิทยา โรงเรียนโนนกลางวิทยา โรงเรียนเบ็ตตี้ดูเมน 2 (ช่องเม็ก) โรงเรียนบัวงามวิทยา โรงเรียนห้วยข่าวิทยา และโรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา ร่วมกิจกรรม



โดยกิจกรรมเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. ภายหลังจากที่นายพรชัย โควสุรัตน์ ประธานในพิธีจุดเทียนธูป บูชาพระรัตนตรัยแล้ว พระสงฆ์ 9 รูปนำโดย เจ้าคณะจังหวัดอุบลฯให้ศีล จากนั้นเจริญพระพุทธมนต์ ประธานใน พิธีพร้อมคณะผู้บริหาร ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา จากนั้นนักเรียนร่วมร้องเพลงประสานเสียง ว่าที่ร้อยตรีสุรพล สืบพรหม ผู้อำนวยการกองการศึกษาสาสนาและวัฒนธรรมอ่านสารวันครู จากนั้นนายนกุล เขียวอ่อน กล่าวนำพิธีสวดคำระลึกถึงพระคุณบูรพคณาจารย์ จากนั้นประธานในพิธี กล่าวถึงความสำคัญของวันครู จากนั้นทำพิธีมอบเกียรติบัตร และรางวัลแด่ครูดีเด่น เพื่อเป็นการแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา จากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษเรื่อง การเป็นครูอย่างมืออาชีพ โดย อาจารย์ ดร.สมานจิต ภิรมย์รื่น และเวลาประมาณ 13.00 น. เป็นกิจกรรการแข่งขันกีฬา อาทิ การแข่งขันฟุตบอล กีฬาพื้นบ้าน การประกวดกองเชียร์ ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างสนุกสนานเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูจากสถานศึกษาในสังกัดฯ ทั้ง 12 แห่ง

ด้านนายพรชัย โควสุรัตน์ นายก อบจ.อุบลฯ กล่าวถึง ความสำคัญของวันครู ว่า อบจ.อุบลฯ จัดงานวันครูขึ้น ปีนี้เป็นปีที่ 2 เพื่อเป็นการน้อมระลึกถึงบูรพจารย์ นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมความสามัคคีระหว่างครู ทั้ง 12 โรเรียน รวมทั้งบุคลากรในองค์กรต่างๆ ไปจนถึงประชนทั่วไป เป็นการสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและธำรงซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของไทย พร้อมกล่าวขอบคุณและในการทำงานร่วมกันของคุณครูทั้ง 12โรงเรียน ที่ร่วมกันพัฒนาการศึกษาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป นายพรชัยกล่าว

ด้าน นางสาวณัฐวรรณ ดอกจันทร์ นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร กล่าวว่า “วันนี้มาร่วมงานวันครู เพื่อร่วมแสดงการขับร้องเพลง สำหรับครูในความหมายของหนู คือ ผู้ที่ให้ทุกอย่าง สอนทุกเรื่อง ทั้งเรื่องการเรียน และเรื่องการดำรงชีวิตในสังคม ครูถือเป็นผู้ให้ สำหรับวันครูปีนี้อยากให้คุณครูมีความสุข และสุขภาพแข็งแรงเป็นร่มโพธิ์ของศิษย์ตลอดไป”

ด้านนายณรงค์พล มั่นคง นักเรียนชั้น ม. 6 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร กล่าวว่า “ครู ในความหมายของผม คือ ผู้ที่ให้ความรู้ อบรมสั่งสอนผมทุกอย่าง ในชีวิตการเรียนที่ผ่านมาผมมีความตั้งใจมากขึ้นจนมีวันนี้ คือ ได้ทำตัวเป็นเยาวชนที่ดีเพราะจากการที่ได้รับคำสอนจากคุณครู ทั้งจากคำติ คำชม แต่ล้วนเป็นคำสอนที่มีค่ามาก ครับ”

สำหรับความสำคัญของวันครู คือ เพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้

ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ




ที่มา:http://guideubon.com/news/view.php?t=115&s_id=1172&d_id=1174

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น